ทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้ (ทุนวิจัย 15,000 บาท)
SDGs
SDGs คืออะไร…
SDGs ย่อมาจากคำว่า “Sustainable Development Goal” หรือ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations: UN) เพื่อทำให้โลกดีขึ้นภายในปี 2030 ด้วยการพัฒนาที่คำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตที่อย่างเท่าเทียม ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา หน่วยงานราชการ หรือบริษัทเอกชนต่างก็นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาปรับใช้และวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่อยู่ในระดับสากลและนานาชาติ สืบเนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 เป้าหมาย ที่มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดย 17 เป้าหมาย มีดังนี้
- เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่
- เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย
- เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม
และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต - เป้าหมายที่ 5: บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง
- เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 7: สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา
- เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ
และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน - เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน
และส่งเสริมนวัตกรรม - เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
- เป้าหมายที่ 11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 13: ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
- เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
- เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม
และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ - เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งหมดนี้คือเป้าหมาย SDGs 17 เป้าหมาย ที่สหประชาชาติ ที่ทั่วโลกจะทำให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งหลายประเทศก็ได้ออก
วิสัยทัศน์เชิงนโยบายหลายแบบ ทั้งญี่ปุ่นกับ Society 5.0 , ประเทศไทย 4.0 และ Smart Nation ของสิงคโปร์ เป็นต้น
ที่มา: https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/
แนวทางการปฏิบัติงาน การขอรับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้ (15,000 บาท)
สำหรับสาขาวิชา/หน่วยงาน ประจำปี 2567
2. แนวทางการขอรับทุน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนการวิจัย-เงินรายได้ สำหรับเป็นเงินอุดหนุนการวิจัยสร้างองค์ความรู้ (15,000 บาท) ของสาขาวิชา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล เพื่อให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการวิจัยได้ตามจำนวนอาจารย์ที่มีในสาขาวิชา/สำนัก หรือดำเนินการบูรณาการข้ามหน่วยงานภายใต้กรอบวงเงินที่กำหนด โดยให้การดำเนินการต้องเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้ พ.ศ. 2565 และประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย และการดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้ พ.ศ. 2567
2.1 ประเภททุนวิจัย
ทุนวิจัยมี 2 ประเภท คือ
2.1.1 รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ เป็นงานวิจัยที่จัดทำเป็นเล่มรายงานการวิจัย และผ่านการพิจารณาคุณภาพโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ รวมถึงจัดทำบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ.
2.1.2 บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เป็นงานวิจัยที่ที่จัดทำเป็นบทความวิจัยที่ประมวลสรุปกระบวนการและผลลัพธ์การวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ.
3. คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน
3.1 หัวหน้าโครงการวิจัย
1) เป็นคณาจารย์ประจำที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัยในอัตราที่ครองจริง ณ วันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
2) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการวิจัย โดยมีชื่อเป็นลำดับแรกของโครงการวิจัย มีสัดส่วนการทำวิจัยมากที่สุด
3) มีอายุราชการหรือระยะเวลาการจ้างงานตามสัญญาจ้าง ไม่น้อยกว่า 15 เดือน นับแต่วันทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
4) ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อเต็มเวลา หรือไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือไปทำวิจัยในต่างประเทศ
5) ไม่เป็นอาจารย์ประจำตามสัญญาจ้าง
6) ไม่มีโครงการวิจัยที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในปีงบประมาณก่อนหน้า ยกเว้น กรณีผู้ขอรับทุนดำเนินการวิจัยแล้วเสร็จภายในระยะเวลาการเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยในปีงบประมาณนั้น
คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
3.2 ผู้ร่วมโครงการวิจัย
1) เป็นคณาจารย์ประจำที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัยในอัตราที่ครองจริง ณ วันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
2) มีสัดส่วนการทำวิจัยในข้อเสนอโครงการวิจัย
3) ไม่อยู่ระหว่างลาศึกษาต่อเต็มเวลา หรือไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือไปทำวิจัยในต่างประเทศ
4) ไม่เป็นอาจารย์ประจำตามสัญญาจ้าง
คุณสมบัติอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
4. การยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย
4.1 ผู้ขอรับทุนสามารถยื่นขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้ร่วมโครงการวิจัยได้เพียงหนึ่งโครงการวิจัยเท่านั้น และไม่สามารถเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยหรือผู้ร่วมโครงการวิจัยในโครงการวิจัยอื่นได้อีก
4.2 ผู้ขอรับทุนสามารถรวมกลุ่มผู้ขอรับทุนในการทำวิจัยได้ตามความเหมาะสม ซึ่งอัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดคูณด้วยจำนวนหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมโครงการวิจัย ทั้งนี้ กรณีผู้ร่วมโครงการวิจัยสังกัดหน่วยงานเดียวกันกับหัวหน้าโครงการวิจัย ให้ผู้ร่วมโครงการวิจัยแจ้งให้หน่วยงานโอนงบประมาณในส่วนของผู้ร่วมโครงการวิจัยให้หัวหน้าโครงการวิจัย และกรณีผู้ร่วมโครงการวิจัยไม่ได้สังกัดหน่วยงานเดียวกันกับหัวหน้าโครงการวิจัย ให้ผู้ร่วมโครงการวิจัยแจ้งให้หน่วยงานโอนงบประมาณในส่วนของผู้ร่วมโครงการวิจัยให้หน่วยงานที่หัวหน้าโครงการวิจัยสังกัด โดยแจ้งการโอนข้ามหน่วยงานผ่านกองแผนงาน เพื่อเสนออธิการบดีอนุมัติ
4.3 ข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมีลักษณะเป็นการวิจัยเพื่อการสร้าง การทดสอบ หรือการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ ไม่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของหน่วยงานหรือหลักสูตร เช่น การสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา ผู้เรียน หรือผู้ปฏิบัติงาน และการประเมินหลักสูตร เป็นต้น
4.4 ข้อเสนอโครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุน ต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับโครงการที่เสนอขอรับทุนกับแหล่งทุนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย หรือเป็นโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือเป็นโครงการวิจัยของนักศึกษาและบุคลากรในหน่วยงาน หรือเป็นโครงการที่ใช้สำเร็จการศึกษา หรือโครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้ที่มีการยุติโครงการวิจัย
4.5 ผู้ขอรับทุนจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยตามแบบฟอร์มที่กำหนด สำหรับระยะเวลาการเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยให้เป็นไปตามที่หน่วยงาน (สาขา/สำนัก) กำหนด โดยรายละเอียด ดังนี้
1) ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ผู้ขอรับทุนจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยตามแบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้ (15,000 บาท) ของสาขาวิชา/หน่วยงาน ประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ สวพ.ส 002/2 จำนวนชุดให้เป็นไปตามที่สาขาวิชา/สำนัก กำหนด พร้อมทั้งบันทึกนำส่งข้อเสนอโครงการวิจัย สวพ.ส 001
2) ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
ให้ผู้ขอรับทุนจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยตามแบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้ (15,000 บาท) ของสาขาวิชา/หน่วยงาน ประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ สวพ.ส 002/1 จำนวนชุดให้เป็นไปตามที่สาขาวิชา/สำนัก กำหนด พร้อมทั้งบันทึกนำส่งข้อเสนอโครงการวิจัย สวพ.ส 001
5. การพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย
ให้หน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ดำเนินการดังนี้
5.1 แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน (กรณีหน่วยงานที่ยังไม่มีคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัย) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่อาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ ดังนี้
1) สาขาวิชา ให้คณะกรรมการประจำสาขาวิชาเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำสาขาวิชา หรือคณะกรรมการประจำสาขาวิชาอาจแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำสาขาวิชา ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการที่แต่งตั้งจากบุคคลภายในสาขาวิชานั้น จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคน และให้บุคคลภายในสาขาวิชาจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ อาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ โดยจัดการทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน และบันทึกเสนอรองอธิการบดีที่กำกับดูแลหน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ลงนาม
2) สำนัก (สำนักเทคโนโลยีการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล) ให้ผู้อำนวยการสำนักแต่งตั้งคณะะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำสำนัก (คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา หรือ คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำสำนักทะเบียนและวัดผล) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการ ที่แต่งตั้งจากบุคคลภายในสำนักรวมแล้วไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคน และให้บุคคลภายในสำนักจำนวนหนึ่งคนเป็นเลขานุการ ทั้งนี้ อาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ โดยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน และบันทึกเสนอรองอธิการบดีที่กำกับดูแลหน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ลงนาม
กรณี กรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ
ผู้ซึ่งตนแทน แต่ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่น้อยกว่าเก้าสิบวันจะไม่ดำเนินการให้มีผู้ดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ หรือกรณี กรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ หรือกรณี กรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดและยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการเท่าที่มีอยู่
5.2 ส่งข้อเสนอโครงการวิจัยให้ คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา
5.3 การพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย
1) ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
ให้คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพิจารณา ดังนี้
พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน ลักษณะของข้อเสนอโครงการวิจัยตามเงื่อนไขที่กำหนด ความซ้ำซ้อนของโครงการที่เสนอขอรับทุนกับแหล่งทุนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่เป็นโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โครงการวิจัยของนักศึกษาและบุคลากรในหน่วยงาน โครงการที่ใช้สำเร็จการศึกษา และโครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้และมีการยุติโครงการวิจัย
เสนอรายชื่อคณะกรรมการเฉพาะกิจให้รองอธิการบดีที่กำกับดูแลสาขาวิชา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา หรือสำนักทะเบียนและวัดผล แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำหน้าที่พิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย และรายงานการวิจัย
ให้หน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ดำเนินการ ดังนี้
ทาบทาม จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ และบันทึกเสนอรองอธิการบดีที่กำกับดูแลหน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ลงนาม
ประสานงานการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย และสรุปผลการประชุม/รายงานการประชุม
แจ้งผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย และคะแนนการประเมินคุณภาพข้อเสนอโครงการวิจัย (ดังตัวอย่างแบบประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย) สวพ.ส 003_1 ให้คณะกรรมการกลั่นกรอง และคณะกรรมการวิจัยทราบ
ส่งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ และหนังสือรับรองผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย (รายงานการประชุม/คะแนนการประเมินคุณภาพข้อเสนอโครงการวิจัย) พร้อมทั้ง บันทึกขอเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจ สวพ.ส 007 พร้อมทั้งแนบหลักฐานการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย สวพ.ส 007_1 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน
2) ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
ให้คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน พิจารณา ดังนี้
พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของผู้ขอรับทุน ลักษณะของข้อเสนอโครงการวิจัยตามเงื่อนไขที่กำหนด ความซ้ำซ้อนของโครงการที่เสนอขอรับทุนกับแหล่งทุนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ไม่เป็นโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โครงการวิจัยของนักศึกษาและบุคลากรในหน่วยงาน โครงการที่ใช้สำเร็จการศึกษา และโครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยสร้างองค์ความรู้และมีการยุติโครงการวิจัย
พิจารณาคุณภาพของข้อเสนอโครงการวิจัย ความคุ้มค่า ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย และความเป็นไปได้ในการตีพิมพ์
พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับแก้ไขโครงการวิจัย และอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัย
พิจารณาให้ความเห็นการยุติโครงการวิจัย
6. การทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
6.1 ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
เมื่อคณะกรรมการเฉพาะกิจอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยแล้ว
ให้หน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ดำเนินการ ดังนี้
6.1.1 แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัยให้นักวิจัยทราบ พร้อมทั้งจัดทำสัญญารับเงินอุดหนุนการวิจัย “สัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ” กรณีโครงการวิจัยที่ไม่มีผู้ร่วมโครงการ สวพ.ส 008_2(1) /กรณีโครงการวิจัยมีผู้ร่วมโครงการ สวพ.ส 008_2(2) พร้อมทั้งหนังสือมอบอำนาจ สวพ.ส 009_2 โดยผู้ขอรับทุนต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัยภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงาน มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้ขอรับทุนประสงค์จะยกเลิกการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย และให้ยุติโครงการวิจัย
กรณีโครงการวิจัยที่ยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัย โดยผู้ขอรับทุนต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัยภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการรับรองจริยธรรมการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้น ให้ถือว่าผู้ขอรับทุนประสงค์จะยกเลิกการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย และให้ยุติโครงการวิจัย ถ้าผู้ขอรับทุนไม่สามารถทำสัญญาได้ตามเวลาที่กำหนด หรือกรณีผู้ขอรับทุนประสงค์จะทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยก่อนดำเนินการขอรับรองจริยธรรมการวิจัย ให้ผู้ขอรับทุนเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพิจารณาก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
6.1.2 จัดทำประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนและสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย โดยจัดทำบันทึก และประกาศรายชื่อ เสนอให้รองอธิการบดีที่กำกับดูแลสาขาวิชา/สำนัก (สำนักเทคโนโลยีการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล) ลงนาม
6.1.3 บันทึก สำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ สัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย ประกาศให้ทุนอุดหนุนการวิจัย ข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับทำสัญญา และรายงานสถานภาพโครงการวิจัย ทุก 2 เดือน (ตามที่ สวพ. มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงาน) บนระบบรายงานสถานภาพโครงการวิจัยหน้าเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา https://ird.stou.ac.th/ird-15000-2565/ ผ่าน google sheet
6.2 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานได้อนุมัติให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแล้ว
ให้หน่วยงาน (สาขาวิชา/สำนัก) ดำเนินการดังนี้
6.2.1 แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติทุนอุดหนุนการวิจัย พร้อมทั้งจัดทำสัญญารับเงินอุดหนุนการวิจัย “สัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์” กรณีโครงการวิจัยที่ไม่มีผู้ร่วมโครงการ สวพ.ส 008_1(1) และโครงการวิจัยมีผู้ร่วมโครงการ สวพ.ส 008_1(2) พร้อมทั้งหนังสือมอบอำนาจ สวพ.ส 009_1 โดยผู้ขอรับทุนต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัยภายใน 15 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงาน มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้ขอรับทุนประสงค์จะยกเลิกการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย และให้ยุติโครงการวิจัย
กรณีโครงการวิจัยที่ยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัย โดยผู้ขอรับทุนต้องทำสัญญากับมหาวิทยาลัยภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการรับรองจริยธรรมการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้น ให้ถือว่าผู้ขอรับทุนประสงค์จะยกเลิกการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย และให้ยุติโครงการวิจัย ถ้าผู้ขอรับทุนไม่สามารถทำสัญญาได้ตามเวลาที่กำหนด หรือกรณีผู้ขอรับทุนประสงค์จะทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยก่อนดำเนินการขอรับรองจริยธรรมการวิจัย ให้ผู้ขอรับทุนเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพิจารณาก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
6.2.2 เสนอประกาศรายชื่อผู้ได้รับทุนและสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย โดยจัดทำ บันทึกเสนอลงนามประกาศ/สัญญา ให้รองอธิการบดีที่กำกับดูแลสาขาวิชา/สำนัก (สำนักเทคโนโลยีการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล) ลงนาม
6.2.3 บันทึก สำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ สัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย ประกาศให้ทุนอุดหนุนการวิจัย ข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับทำสัญญา และรายงานสถานภาพโครงการวิจัย ทุก 2 เดือน (ตามที่ สวพ. มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงาน) บนระบบรายงานสถานภาพโครงการวิจัยหน้าเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา https://ird.stou.ac.th/ird-15000-2565/ ผ่าน google sheet
7. การรายงานผลการวิจัย
7.1 ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
7.1.1 ให้หัวหน้าโครงการวิจัยรายงานผลการวิจัย โดยจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย สวพ.ส 005 บันทึกรายงานความก้าวหน้า/ขอขยายเวลา สวพ.ส 004 และรายงานข้อมูลการวิจัย สวพ.ส 011_2 พร้อมส่งเล่มรายงานการวิจัย (ฉบับร่าง) บทความวิจัย และหนังสือรับรองการตีพิมพ์ต่อหน่วยงาน ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุนการวิจัย
7.1.2 ให้หน่วยงานเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย และอนุมัติเบิกเงินอุดหนุนการวิจัย
7.1.3 ให้หน่วยงานเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการวิจัยงวดเดียว ร้อยละ 100 ตามอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้ พ.ศ. 2565
7.2 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
7.2.1 ให้หัวหน้าโครงการวิจัยรายงานผลการวิจัย โดยจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย สวพ.ส 005 บันทึกรายงานความก้าวหน้า/ขอขยายเวลา สวพ.ส 004 และรายงานข้อมูลการวิจัย สวพ.ส 011_2 พร้อมส่งบทความวิจัย และหนังสือรับรองการตีพิมพ์ต่อหน่วยงาน ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อขอรับเงินอุดหนุนการวิจัย
7.2.2 ให้หน่วยงานเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย และอนุมัติเบิกเงินอุดหนุนการวิจัย
7.2.3 ให้หน่วยงานเบิกจ่ายทุนอุดหนุนการวิจัยงวดเดียว ร้อยละ 100 ตามอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้ พ.ศ. 2565
8. การส่งรายงานการวิจัย บทความวิจัย และเผยแพร่ผลงาน
8.1. ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
เมื่อหัวหน้าโครงการวิจัยส่งเล่มรายงานการวิจัย (ฉบับร่าง) บทความวิจัย และหนังสือรับรองการตีพิมพ์ แล้ว
8.1.1 ให้หน่วยงานประสานงานการพิจารณารายงานการวิจัย พร้อมทั้งส่งรายงานการวิจัยให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณารับรองรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
8.1.2 หัวหน้าโครงการวิจัยส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเฉพาะกิจต่อหน่วยงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากหน่วยงาน (รวมถึงกรณีคณะกรรมการเฉพาะกิจมีมติให้ผู้วิจัยปรับแก้ไขรายงานการวิจัย)
8.1.3 เมื่อคณะกรรมการเฉพาะกิจรับรองรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์แล้ว ให้หน่วยงานรายงาน คณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานทราบ
8.1.4 ให้หน่วยงานส่งข้อมูลให้สถาบันวิจัยและพัฒนา ดังนี้
1) หนังสือรับรองการตีพิมพ์ โดยจัดส่งบันทึกส่งข้อมูลการรับรองตีพิมพ์ สวพ.ส 011 และแบบรายงานข้อมูลการวิจัย สวพ.ส 011_2 ที่ผู้วิจัยจัดส่งพร้อมการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ และหนังสือรับรองผลการพิจารณารายงานการวิจัย เพื่อเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณารายงานการวิจัย
8.2 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
เมื่อหัวหน้าโครงการวิจัยส่งบทความวิจัยที่มีหนังสือรับรองการตีพิมพ์ แล้ว
8.2.1 ให้หน่วยงานส่งหนังสือรับรองการตีพิมพ์ โดยจัดส่งบันทึกส่งข้อมูลการรับรองตีพิมพ์ สวพ.ส 011 และแบบรายงานข้อมูลการวิจัย สวพ.ส 011_2 ที่ผู้วิจัยจัดส่งพร้อมการรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย ส่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนา
9. การขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัย
9.1 ให้หัวหน้าโครงการวิจัยยื่นขออนุมัติการขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัย โดยยื่นเรื่องให้หน่วยงานก่อนครบกำหนดในสัญญาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ตามแบบขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัย สวพ.ส 006 พร้อมทั้งระบุเหตุผลการขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัยอันเกิดจากปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินการวิจัยเท่านั้น และบันทึกรายงานความก้าวหน้า/ขอขยายเวลา สวพ.ส 004 ทั้งนี้ สามารถขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัยได้จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เป็นระยะเวลา 6 เดือน และครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาเกินกว่าที่กำหนด ให้เสนอคณะกรรมการวิจัยพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี
9.2 ให้หน่วยงานเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานกลั่นกรองการขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัย และจัดทำบันทึกผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนา สวพ. ส 013 เพื่อเสนอรองอธิการบดีที่กำกับดูแลสถาบันวิจัยและพัฒนาพิจารณาอนุมัติการขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัย
9.3 ให้หน่วยงานแจ้งผู้วิจัยทราบภายหลังรองอธิการบดีที่กำกับดูแลสถาบันวิจัยและพัฒนาพิจารณาอนุมัติการขอขยายระยะเวลาดำเนินการวิจัยแล้ว
10 การแก้ไขโครงการวิจัย
10.1 ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
10.1.1 ผู้ให้ผู้ขอรับทุน/หัวหน้าโครงการวิจัย ยื่นคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามแบบ สวพ.ส 010 ต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอแก้ไขโครงการวิจัยดังกล่าว ผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
10.1.2 ให้หน่วยงานเสนอการขอแก้ไขโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอแก้ไขโครงการวิจัย
10.1.3 ให้หน่วยงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับทุน/หัวหน้าโครงการวิจัย และคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานทราบ
10.2 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
10.2.1 ให้ผู้ขอรับทุน/หัวหน้าโครงการวิจัย ยื่นคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามแบบ สวพ.ส 010 ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน ผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
10.2.2 ให้หน่วยงานเสนอการขอแก้ไขโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบการขอแก้ไขโครงการวิจัย
10.2.3 ให้หน่วยงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับทุน/หัวหน้าโครงการวิจัย
11. การยุติโครงการวิจัย
11.1 การยุติโครงการวิจัยก่อนทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
11.1.1 ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
1) ผู้ขอรับทุนแจ้งยุติโครงการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
2) กรณีผู้ขอรับทุนไม่ปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการวิจัยภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงาน
3) ผู้ขอรับทุนไม่ดำเนินการทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยภายในระยะเวลาที่กำหนด
4) ให้หน่วยงานเสนอการยุติโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน และแจ้งสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อเบิกเงินค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจ
11.2.1 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
1) ให้ผู้ขอรับทุนแจ้งยุติโครงการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานโดยผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
2) ให้หน่วยงานเสนอการยุติโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงาน
11.2 การยุติโครงการวิจัยหลังทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย
11.2.1 ทุนวิจัยประเภท รายงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
1) หัวหน้าโครงการวิจัยแจ้งยุติโครงการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการเฉพาะกิจผ่านหัวหน้าหน่วยงานที่สังกัด
2) ผู้ขอรับทุนไม่ปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการวิจัยภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงาน
3) ผู้ขอรับทุนไม่ดำเนินการทำสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยภายในระยะเวลาที่กำหนด
11.2.2 ทุนวิจัยประเภท บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์
หัวหน้าโครงการวิจัยมีความประสงค์จะยุติโครงการวิจัย ให้หัวหน้าโครงการวิจัยจัดทำเรื่องแจ้งการยุติโครงการวิจัยเป็นลายลักษณ์อักษรต่อต่อหน่วยงาน
การยุติโครงการวิจัยตาม (11.1) และ (11.2) ให้หน่วยงานเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยประจำหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองก่อนเสนอคณะกรรมการวิจัยพิจารณาอนุมัติการยุติโครงการวิจัย แล้วแจ้งสถาบันวิจัยและพัฒนาทราบ อนึ่ง การไม่ปฏิบัติตามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย หากนักวิจัยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าการวิจัยมิอาจดำเนินการต่อไปให้เสร็จสิ้นได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัยและยุติโครงการวิจัยได้ โดยให้นักวิจัยคืนทุนอุดหนุนการวิจัยที่ได้รับต่อเมื่อมหาวิทยาลัยบอกเลิกสัญญาและยุติโครงการวิจัย
กรณี ผู้ขอรับทุนยุติโครงการวิจัย ตามข้อ 11.2.1 ให้นักวิจัยรับผิดชอบค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย หรือรายงานการวิจัย ที่ได้จ่ายค่าตอบแทนไปแล้วทั้งหมด ภายหลังคณะกรรมการเฉพาะกิจมีมติให้ยุติโครงการวิจัย และให้นักวิจัยรับผิดชอบค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการวิจัย โดยจัดทำบันทึกแจ้งคืนเงินค่าตอบแทนคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ (สวพ.ส 014) ให้ สวพ. เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป